ข้อมูลท้องถิ่น

สภาพทั่วไปของตำบลท่าราบ
ลักษณะที่ตั้ง
ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของอำเภอเมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนล่าง  โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 120  กิโลเมตร

สภาพพื้นที่
มีพื้นที่ 5.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  3,375  ไร่ มีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านกลางเขตเทศบาลฯ  ซึ่งเป็นพื้นที่แบ่งอาณาเขตระหว่างตำบลท่าราบและตำบลคลองกระแชง  โดยตำบลท่าราบอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี

อาณาเขต
ทิศเหนือ                                ติดต่อกับตำบลหนองโสน
ทิศใต้                                    ติดต่อกับตำบลโพธิ์ไร่หวาน
ทิศตะวันออก                      ติดต่อกับตำบลหนองโสน ตำบลช่องสะแก ตำบลนาวุ้ง
ทิศตะวันตก                         ติดต่อกับตำบลคลองกระแชง

เขตการปกครอง
ตำบลท่าราบมีพื้นที่ 3.4 ตารางกิโลเมตร  เป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลเมืองเพชรบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี โดยตำบลท่าราบอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีเป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งตำบล มีคลองวัดเกาะซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของตำบลเป็นคลองซอยเชื่อมระหว่างแม่น้ำเพชรบุรีกับคลองสายโพธิ์พระ ในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากพื้นที่ตำบลท่าราบอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี  ซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว  ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย  ไม่ร้อนจัดหนาวจัด  โดยแบ่งเป็น 3 ฤดู  เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย  จากสถิติอุณหภูมิในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2546-2550)  อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดวัดได้ 35.9-37.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดวัดได้ 16.0-18.3 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิระหว่างปี 2546-2550 วัดได้ 28.01-28.31 องศาเซลเซียส  สำหรับปี 2550  อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 37.0องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550)  ต่ออุณหภูมิวัดได้ 16.0 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 4กุมภาพันธ์ 2550)  และอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีวัดได้ 28.08 องศาเซลเซียส  เนื่องจากจังหวัดเพชรบุรีตั้งในทิศทางที่สามารถรับลมมรสุมได้ทั้ง 2 ด้าน คือ  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว  และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝน  ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องฝนทิ้งช่วงหรือปริมาณฝนน้อยเกินไป  สำหรับปริมาณน้ำฝนในตำบลท่าราบไม่ได้มีการสำรวจไว้เป็นการเฉพาะพื้นที่  แต่ในภาพรวมของจังหวัดเพชรบุรี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีระหว่างปี 2546-2550 จะอยู่ในช่วง 868.8 มิลลิเมตร  ถึง 1,113.4 มิลลิเมตร  โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีมากที่สุดในปี 2550  วัดถึง 1,113.4 มิลลิเมตร  จำนวนวันที่ฝนตก 99วัน ส่วนปริมาณน้ำฝนทั้งปีน้อยที่สุดในปี2548 วัดได้868 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก102 วัน
(ข้อมูล เดือนกุมภาพันธ์ 2551 แหล่งข้อมูล: สถานีอุตุนิยมวิทยาเพชรบุรี)

ลักษณะดิน
ลักษณะทั่วไปของดินในตำบลท่าราบ  มีลักษณะของดิน 2 กลุ่ม
กลุ่มที่1  ดินในพื้นที่ลุ่ม เป็นดินทรายแป้งสีเทา มีคุณลักษณะและคุณสมบัติของดิน  คือ  เป็นกลุ่มดินทรายแป้งสีเทาลึกมากที่มีพื้นที่สภาพราบเรียบ  มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้งเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง  ดินบนมีสีน้ำตาลหรือสีเทา  ดินล่างมีสีเทามีจุดประสีน้ำตาล  สีเหลืองหรือสีแดงของศิลาแลงอ่อน  การระบายน้ำไม่ดี  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัดและมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน
กลุ่มที่2 ดินในพื้นที่ดอน พบบริเวณสองฝั่งริมแม่น้ำและมีความลาดชัน  มีคุณลักษณะและคุณสมบัติของดิน  เป็นกลุ่มดินร่วนลึกมากที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำในฤดูน้ำหลากบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ  มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย  มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งและอาจมีชั้นสลับ  ดินบนมีสีน้ำตาล  ดินล่างมีสีน้ำตาลหรือสีเหลือง  อาจพบจุดประสีเหลือง  สีน้ำตาล  สีแดงหรือสีเทา  การระบายน้ำของดินดีหรือดีปานกลาง  ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง
ลักษณะการประกอบอาชีพของประชากร
พื้นที่ตำบลท่าราบ  เป็นพื้นที่ศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน  เป็นทำเลทองในด้านธุรกิจการค้าของจังหวัดเพชรบุรี  ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่  ข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  พนักงานในองค์กรเอกชน  ผู้ประกอบการค้า  ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการบริการ  รวมถึงอาชีพรับจ้างใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมในครัวเรือนทั่วไป และภาคอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ใกล้เคียง

ลักษณะชุมชนในท้องถิ่น
ชุมชนในตำบลท่าราบเป็นหนึ่งในสองตำบลที่อยู่ในพื้นที่ของเขตเทศบาลฯ  เป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง  ที่กำหนดให้เทศบาลฯ ซึ่งเป็นชุมชนเมืองได้มีการรวมกลุ่มร่วมกันคิดร่วมกันทำ   ร่วมกันแก้ไขปัญหาของกลุ่มในรูปแบบของชุมชนย่อย  ซึ่งอาจแบ่งตามสภาพพื้นที่หรือการรวมกลุ่มตามสังคม  โดยจัดให้มีแกนนำชุมชนในรูปของคณะกรรมการชุมชน  คัดเลือกจากประชาชนในชุมชนประกอบด้วยประธาน  รองประธาน  เลขาฯ  และกรรมการชุมชนฝ่ายต่างๆ  ซึ่งคณะกรรมการชุมชนนอกจากจะมีบทบาทเป็นผู้นำและแกนกลางในการพัฒนาชุมชนแล้ว  ยังมีบทบาทการที่จะเป็นแกนนำในการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน  รวมถึงเสนอแผนงาน  โครงการ  ในกรณีที่การรวมแก้ไขปัญหานั้นต้องการช่วยเหลือจากเทศบาลฯ
                สำหรับการแบ่งชุมชนย่อยในตำบลท่าราบ  เป็นการแบ่งตามสภาพพื้นที่โดยพิจารณาถึงการรวมกลุ่มทางสังคมเดิมประกอบกันโดยแบ่งเป็น 9 ชุมชน  ซึ่งเป็นพื้นที่ย่านการค้าหลักบริเวณ 2 ฝั่งถนนสุรินทรฦๅชัยและถนนพาณิชเจริญ  ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นอาคารพาณิชย์  สถานที่ประกอบการค้า  ซึ่งการรวมกลุ่มของประชาชนพื้นที่นี้จะมีการรวมกลุ่มทางธุรกิจอยู่เดิมแล้ว

ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของตำบลท่าราบ
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. การคมนาคม/ขนส่ง  ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี  อยู่ในเขตภาคกลางตอนล่าง  จึงมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นเมืองปริมณฑลได้ 2 เส้นทาง  คือ  ถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม2)  และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)  ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปสู่ภาคใต้ของประเทศไทย  ส่วนเส้นทางคมนาคมที่จะเชื่อมต่อกับภาคกลางตอนบนและภาคอื่นๆจะต้องผ่านกรุงเทพมหานครหรือเขตปริมณฑล
ก.ทางบก
-จากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)  ระยะทางประมาณ 166 กิโลเมตร (ผ่านจังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี)
-จากกรุงเทพมหานคร โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ)ระยะทางประมาณ 120 กิโลเมตร  (ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามและจังหวัดราชบุรี)
-โดยทางรถไฟสายใต้  มีขบวนรถไฟวิ่งขึ้น-ล่อง  ผ่านจังหวัดเพชรบุรี  ซึ่งมีสถานีรถไฟตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  วันละประมาณ 25 ขบวน  แยกเป็นขบวนรถโดยสาร 18 ขบวน และขบวนรถสินค้า 7 ขบวน  ระยะทางจากสถานีรถไฟหัวลำโพงกรุงเทพฯ  ถึงสถานีเพชรบุรี ประมาณ 150 กิโลเมตร (ผ่านจังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรีมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย)
(ข้อมูล  ณ เดือนกุมภาพันธ์  2550 แหล่งข้อมูล : สถานีรถไฟเพชรบุรี)
                                สำหรับในพื้นที่ตำบลท่าราบ  ซึ่งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดเพชรบุรี  มีรถโดยสารประจำทาง ซึ่งมีจุดจอดรถประจำ  อยู่ในเขตเทศบาลและวิ่งรับส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเพชรบุรี กับจังหวัดใกล้เคียง  และวิ่งรับส่งผู้โดยสารในเขตจังหวัดเพชรบุรีหลายเส้นทาง  ดังนี้
ข.ทางอากาศ
ในจังหวัดเพชรบุรีไม่มีที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์  กรณีเดินทางโดยเครื่องบินโดยสาร (ขนาดเล็ก)  ต้องไปขึ้น-ลงที่สนามบินบ่อฝ้าย  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งมีระยะทางห่างจากตำบลท่าราบ  ประมาณ 60 กิโลเมตร
ค.ทางน้ำ
แม้ตำบลท่าราบจะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี  แต่เนื่องจากแม่น้ำเพชรบุรีเป็นแม่น้ำสายสั้น  มีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี  ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน  อำเภอท่ายาง  อำเภอบ้านลาด  อำเภอเมือง  ตำบลท่าราบและไหลไปออกทะเลที่อำเภอบ้านแหลม  จังหวัดเพชรบุรี  มีทิศการไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือโดยช่วงที่แม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านตำบลท่าราบจะเป็นช่วงปลายลำน้ำ  ซึ่งระดับน้ำทะเลจะส่งผลกระทบกับระดับน้ำในแม่น้ำ  ทำให้ระดับน้ำไม่คงที่  โดยระดับน้ำจะขึ้นสูงอย่างรวดเร็วในฤดูน้ำหลากและลดต่ำอย่างรวดเร็วอีกเช่นกัน  อีกทั้งความสะดวกของการคมนาคมขนส่งทากบก  ประกอบกับภาวะตื้นเขินของลำน้ำ  ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีในภาวะปกติ  ไม่อยู่ในสภาวะที่จะใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งได้
2.  ไฟฟ้า  ในพื้นที่ตำบลท่าราบ เป็นชุมชนเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดเพชรบุรี ใช้ไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าที่โรงผลิตไฟฟ้าราชบุรี โดยพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่เขตตำบล     ท่าราบทั้งหมด ดังนั้นครัวเรือนรวมถึงสถานที่ราชการ จึงมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึง
3. การประปา  ตำบลท่าราบเป็นชุมชนเมืองที่เป็นศูนย์กลางของจังหวัดเพชรบุรี มีสำนักงานประปาเป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านการประปา  มีแม่น้ำเพชรบุรีเป็นแหล่งน้ำดิบ  

พื้นที่ให้บริการครอบคลุมตำบลท่าราบทั้งหมด  ดังนั้นครัวเรือน  หน่วยงานราชการต่างๆ ในเขตตำบลท่าราบจึงมีน้ำประปาใช้โดยทั่วถึงครอบคลุมพื้นที่
4.  โทรศัพท์  การเป็นชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด ทำให้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญยิ่ง  โดยมีบริษัททีโอที คอร์เปอร์เรชั่น  จำกัด(มหาชน)  และบริษัททีทีแอนด์ที  จำกัด เป็นผู้ให้บริการด้านโทรศัพท์  พื้นที่ให้บริการครอบคลุมเขตตำบลท่าราบทั้งหมด
5.  การจราจร  การจราจรในตำบลท่าราบ  จะเป็นการจราจรทางบกทั้งหมด และถึงจะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี  แบ่งแยกเขตเทศบาลฯ ระหว่างสองตำบล แต่ได้มีการสร้างสะพานเชื่อมข้ามแม่น้ำเพชรบุรี ถึง 7 สะพานได้แก่


1.สะพานอุรุพงษ์
2.สะพานวัดจันทราวาส
3.สะพานท่าสรง
4. สะพานลำไย
5.สะพานใหญ่
6.สะพานจอมเกล้า
7.สะพานเทศบาล


โดยทั้ง 7 สะพานเชื่อมระหว่างตำบลท่าราบกับตำบลคลองกระแชง  และมีสะพานข้ามคลองชลประทานที่เชื่อมระหว่างตำบลท่าราบ  กับตำบลนาวุ้ง  อีก 1 สะพาน  คือ สะพานข้ามคลองชลประทานที่ถนนภูมิรักษ์  สำหรับพื้นที่ของตำบลท่าราบ  จะมีถนนสายสำคัญ  จำนวน 9 สาย  ดังนี้
ถนนสายหลักของตำบลท่าราบ
                                1. ถนนมาตยาวงษ์
2. ถนนโพธิ์การ้อง
3. ถนนสุรินทรฦๅชัย
              4. ถนนพานิชเจริญ
5. ถนนภูมิรักษ์
6. ถนนท่าหิน
7. ถนนบริพัตร
8. ถนนราชดำริห์
9. ถนนพงษ์สุริยา
 และถนนสายรองอีก 14 สาย ดังนี้
ถนนสายรอง


1.             ถนนเพชรพลี
2.           ถนนเทเวศร์
3.             ถนนเดโช
4.             ถนนท่าสรง
5.             ถนนหน้าเรือนจำ
6.             ถนนกำแพงเมือง
7.             ถนนพระทรง
8.                     ถนนวัดธ่อ
9.                     ถนนสุรพันธ์
10.              ถนนอุทัยโพธาราม
11.              ถนนอนามัย
12.              ถนนแปลงนาม
13.              ถนนนามอญ
14.              ถนนเจตน์จำลอง



6. การใช้ประโยชน์ที่ดิน  ตำบลท่าราบ  เป็นพื้นที่อยู่ในเขตบังคับใช้ผังเมืองรวมตามประกาศกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองเพชรบุรี พ.ศ.2550  และกำหนดการใช้ที่ดินตำบลท่าราบ  ซึ่งเป็นที่ดินในเขตเทศบาลฯ  ไว้ดังนี้
-              ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง  ส่วนใหญ่พื้นที่ในตำบลท่าราบจะมีลักษณะนี้
-              ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ริมแม่น้ำ  ซึ่งเป็นเขตการค้าหลัก
-              ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา  กระจายอยู่ทั่วเขตตำบลท่าราบ
-              ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา  จะกระจายอยู่ทั่วเขตตำบลท่าราบ
ส่วนใหญ่การใช้ที่ดินในตำบลท่าราบ  ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลฯ  จะเป็นไปตามที่ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองเพชรบุรี  ซึ่งการใช้ที่ดินในตำบลท่าราบ  เป็นมาแต่เดิมเนื่องจากเป็นชุมชนเมืองเก่า  และไม่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

ด้านเศรษฐกิจ
                1.  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร  โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญในพื้นที่ตำบล     ท่าราบ  ได้แก่
                                1.1 การพาณิชย์และการบริการ  จากสภาพพื้นที่ของเมืองเป็นเขตชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางการค้าขายและการบริการ  การธนาคาร  การศึกษา  การคมนาคมขนส่ง  การรักษาพยาบาล  การสื่อสารโทรคมนาคม  ประกอบกับข้อจำกัดด้านจำนวนพื้นที่และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ทำให้
การลงทุนในภาคธุรกิจในตำบลท่าราบ  ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในด้านการค้าขายและการบริการ  โดยจะเป็นลักษณะของการลงทุนทำธุรกิจในระบบครอบครัว  จะไม่มีการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนมาก  เช่น  ภาคการก่อสร้างหรือภาคอุตสาหกรรม  โดยสินค้าในเชิงพาณิชย์ในเขตตำบลท่าราบ  แยกได้เป็น  สินค้าบริโภค-อุปโภคทั่วไปในชีวิตประจำวันและสินค้าในรูปแบบของการบริการ  ซึ่งนอกจากจะเป็นการค้าขายแก่ประชาชนในตำบลท่าราบ  ในรูปของการค้าสินค้าปลีกแล้วยังเป็นการค้าแก่ประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียงทั้งในส่วนที่เป็นการค้าปลีกและส่ง  เพื่อนำไปขายต่อในหลายๆท้องถิ่นรอบนอก  หรือจะเป็นการเข้ามาใช้บริการในธุรกิจบริการต่างๆ  จากประชาชนรอบนอกตำบลท่าราบ
                                สินค้าบริโภคที่สำคัญอันเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันและเป็นสินค้าขึ้นชื่อของเมืองเพชรบุรี  ได้แก่  ขนมหม้อแกง  และขนมที่ได้รับการแปรรูปสินค้าเกษตร  อาทิ  มะตูมเชื่อม  จาวตาลเชื่อม  และขนมไทยต่างๆ  ฯลฯ  ซึ่งปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนท้องถิ่น  โดยกำลังซื้อสินค้าในส่วนนี้  ได้แก่  นักท่องเที่ยวทั่วไป  ประชาชนในท้องถิ่นใกล้เคียงที่ซื้อไปจำหน่ายต่อในลักษณะของพ่อค้าคนกลางและประชาชนในพื้นที่เองที่ซื้อเพื่อเป็นของฝากแก่ญาติมิตรเพื่อนฝูง

                                1.2  การท่องเที่ยว  เนื่องจากพื้นที่ตำบลท่าราบเป็นเมืองเก่า  มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแต่อดีต  ดังปรากฏ  มีโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  วัดวาอารามเก่าแก่  และวิถีการดำเนินชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของคนเมืองเพชร  เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวชมเมือง  นอกจากนี้แล้ว  ตำบลท่าราบยังเป็นศูนย์กลางการค้า  มีสินค้าต่างๆ  ทั้งผลิตผลทางการเกษตร  การประมงและสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคอื่นๆ  จำหน่ายกันทั่วไป  ซึ่งนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้มาซื้อสินค้าส่วนนี้ด้วย  แต่ข้อจำกัดในเรื่องที่พัก  โรงแรมต่างๆ  ที่จะให้บริการแก่นักท่องเที่ยวก็เป็นอุปสรรคสำคัญเพราะในเขตตำบลท่าราบ  ไม่มีโรงแรมชั้นหนึ่งขนาดใหญ่สำหรับบริการนักท่องเที่ยว  ทำให้การท่องเที่ยวในตำบลท่าราบเป็นการท่องเที่ยวประเภทแวะชมแวะซื้อ แต่ถึงอย่างไร  เงินตราจากการท่องเที่ยวก็ยังเป็นเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของท้องถิ่น 
ชุมชนย่อยในตำบลท่าราบ แยกตามลำดับดังนี้
1. ชุมชนจันทราวาส
2. ชุมชนท่าหิน
3. ชุมชนต้นมะม่วง
4. ชุมชนไร่ขิง
5. ชุมชนหน้าพระลาน
6. ชุมชนวัดลาด
7. ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก
8. ชุมชนวัดเกาะ
                9. ชุมชนนามอญ


1. ชุมชนจันทราวาส

                          ชุมชนจันทราวาส    เดิมเป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง (ในอดีต)  ชื่อชุมชนจันทร์ม่วงขิง  ต่อมาในปี 2539 ได้มีการแบ่งแยกชุมชนจันทร์ม่วงขิง  ออกเป็น  3  ชุมชน  คือ  ชุมชนจันทราวาส  ชุมชนไร่ขิง  และชุมชนต้นมะม่วงตามลำดับ

สภาพทั่วไปของชุมชนจันทราวาส

                อาณาเขต
                ทิศเหนือ                เริ่มจากริมแม่น้ำเพชรบุรีฝั่งวัดจันทราวาส มาตามคลองวัดเกาะถึง
ถนนภูมิรักษ์
ทิศใต้                      เริ่มจากริมแม่น้ำเพชรบุรี (บ้านพักทหารแก่ง ฯ)  เลี้ยวซ้ายเข้าซอย
เจตน์จำลอง 3/3  แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยเจตน์จำลอง 3/1 ถึงสุดซอย
ทิศตะวันออก       เริ่มจากซอยเจตน์จำลอง 3/1 มาตามคลองวัดเกาะ
ทิศตะวันตก          จากบ้านพักทหารแก่ง ฯ เลียบแม่น้ำเพชรบุรี  ถึงคลองวัดเกาะ

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนจันทราวาส  ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนจันทราวาส     ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าราบ   อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี    เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนท่าหินและชุมชนไร่ขิง
ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                ชุมชนจันทราวาสเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าราบ  มีอาณาเขตเลียบฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีและมีคลองวัดเกาะอยู่ทางทิศตะวันตก  มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนจันทราวาส อยู่ในเขตพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน     ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย
               
ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนจันทราวาสเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย ได้แก่  ข้าราชการ  พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน  ฯลฯ 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนจันทราวาส
1.              การคมนาคม  ชุมชนจันทราวาส มีถนนสายสำคัญ  จำนวน  1  สาย  ดังนี้
-                   ถนนบริพัตร
และมีถนนซอยในพื้นที่  จำนวน  4  สาย  ดังนี้
-                   ซอยประสานสุข  1
-                   ซอยเจตน์จำลอง  3
-                   ซอยเจตน์จำลอง  3/1
-                   ซอยเจตน์จำลอง  3/3
2. ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูลจากการสำรวจความจำเป็นขั้นพื้นฐานครัวเรือน จปฐ.ประจำปี 2550-2554   
มีประชากรรวม                 909         คน 
                                               มีจำนวนครัวเรือน             365         ครัวเรือน
                               
3. การศึกษา ในพื้นที่ชุมชนจันทราวาส   มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน  จำนวน 2  แห่ง ได้แก่ 
3.1 โรงเรียนวัดจันทราวาส  (ศุขประสารราษฎร์)  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6 มีนักเรียนจำนวนประมาณ  1,500  คน
3.2 โรงเรียนเทศบาล 3  วัดจันทราวาส   สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีนักเรียนจำนวนประมาณ  1,125  คน
  -  และมีห้องสมุดประชาชนจังหวัดเพชรบุรี(สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี) จำนวน  1  แห่ง ตั้งอยู่ในวัดแรก
                                                -  ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนจันทราวาส (สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเพชรบุรี)
                                4.ศาสนา ประชาชนในชุมชนจันทราวาสส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดในพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน จำนวน 2 วัด ได้แก่
4.1 วัดจันทราวาส 
4.2 วัดแรก  (โบสถ์ไม้สัก)
                                5.ศิลปวัฒนธรรม / ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในเขตชุมชนจันทราวาสมีภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่
-  สมุนไพรไทย โดยหมอเชือน
-  .ล้อม  เพ็งแก้ว นักอนุรักษ์
                                                -  .สัณฐาน  ถิรมนัส  อาจารย์ด้านศิลปะ / ขนมหวานลูกเจี๊ยบ
2. ชุมชนท่าหิน
ชุมชนท่าหิน    เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการ
ปกครอง  (ในอดีต)  เดิมชื่อชุมชนเกาะหินลาด  ต่อมาในปี 2539 ได้มีการแบ่งแยกชุมชนเกาะหินลาด
ออกเป็น 3 ชุมชน คือ ชุมชนวัดเกาะ  ชุมชนท่าหิน  และชุมชนวัดลาด ตามลำดับ

สภาพทั่วไปของชุมชนท่าหิน

                อาณาเขต
ทิศเหนือ                จากโรงเรียนศึกษาปัญญาไปตามถนนเพชรพลีฝั่งทิศใต้ถึงทางรถไฟ
ทิศใต้                      จดคลองวัดเกาะและหมู่บ้านปึกเตียนวิลล่า
ทิศตะวันออก       จดทางรถไฟ
ทิศตะวันตก          จากโรงเรียนศึกษาปัญญาไปตามถนนมาตยาวงศ์ฝั่งทิศตะวันออก
                         ถึงสะพานนเรศ

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น  2  ตำบล    ได้แก่ตำบลท่าราบและ
ตำบลคลองกระแชง โดยชุมชนท่าหินตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนท่าหินอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี   มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนวัดลาด  ชุมชนวัดเกาะ  ชุมชนจันทราวาสและชุมชนไร่ขิง  มีที่ทำการชุมชนเป็นอาคารที่ทำการตั้งอยู่ในบริเวณวัดป้อม  ถนนท่าหิน  ตำบลท่าราบ  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี
ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                พื้นที่ชุมชนท่าหินเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลท่าราบซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีเป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งชุมชน  มีคลองวัดเกาะอยู่ทางทิศใต้ของชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนท่าหิน อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี อันเป็นพื้นที่ใจกลางของจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน  ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนท่าหินเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย    ได้แก่   ข้าราชการ 
พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน  ฯลฯ 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนท่าหิน
1.              การคมนาคม  ชุมชนท่าหินมีถนนสายสำคัญ  จำนวน 4 สาย คือ
-      ถนนมาตยาวงษ์
-                 ถนนท่าหิน
-                   ถนนเพชรพลี
-                   ถนนโพธิ์การ้อง
และมีถนนซอยในพื้นที่  จำนวน  5  สาย คือ
-                   ซอยท่าหิน1
-                   ซอยท่าหิน 3
-                   ซอยท่าหิน 5
-                   ซอยหมู่บ้านปึกเตียน 2
-                   ซอยหมู่บ้านปึกเตียน 2/1

2. ประชากรและครัวเรือน  จากการสำรวจความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน (จปฐ.)
ปี 2550-2554  
                ชุมชนท่าหิน       มีประชากรรวม                 1,551    คน 
                                                              มีจำนวนครัวเรือน             359        ครัวเรือน
3. การศึกษา  ในพื้นที่ชุมชนท่าหิน มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน  จำนวน 1 แห่ง  ได้แก่โรงเรียนศึกษาปัญญา   เป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนจำนวนประมาณ   468  คน

                                4. ศาสนา ประชาชนในชุมชนท่าหินส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดในพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน  จำนวน 1 วัด  ได้แก่ วัดป้อม  และมีศาลาที่ชาวบ้านทำกิจกรรมร่วมกัน  เรียกว่า ศาลาบาบู

                                5. ศิลปวัฒนธรรม / ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                - ศิลปะลายรดน้ำ  เป็นวัฒนธรรมที่กำลังจะสูญหายไปจากเมืองเพชรบุรีแต่มีผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก ๆ และเยาวชนผู้ที่สนใจทั่วไปทุกวันอาทิตย์ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนท่าหิน เป็นช่างสกุลเมืองเพชร คือ ช่างธานินทร์  ชื่นใจ (ช่างน้อง) จำนวน 1 ท่าน
-  ขนมพื้นเมือง  ของเมืองเพชรบุรี
3. ชุมชนต้นมะม่วง
ชุมชนต้นมะม่วง   เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง (ในอดีต) ชื่อชุมชนจันทร์ม่วงขิง ต่อมาในปี 2539 ได้มีการแบ่งแยกชุมชนจันทร์ม่วงขิง ออกเป็น 3 ชุมชน คือ ชุมชนจันทราวาส  ชุมชนไร่ขิง และชุมชนต้นมะม่วง  ตามลำดับ

สภาพทั่วไปของชุมชนต้นมะม่วง

                อาณาเขต
                ทิศเหนือ                เริ่มจากริมแม่น้ำเพชรบุรี  ไปตามแนวกำแพงวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
เข้าซอย 5 เทคนิคไปจดถนนภูมิรักษ์ 
ทิศใต้                      เริ่มจากหลักเขตที่ 5 ริมแม่น้ำเพชรบุรีหลังโรงสีเก่า ถึงหลักเขตที่ 6 ทางรถไฟ
ทิศตะวันออก       เริ่มจากหลักเขตที่ 5 ผ่านถนนสายหาดเจ้าฯ  เลี้ยวซ้ายเข้าถนนภูมิรักษ์ 
จดซอย 5 เทคนิค
ทิศตะวันตก          เรียบริมแม่น้ำเพชรบุรี  เริ่มตั้งแต่โรงสีเก่าเชิงสะพานอุรุพงษ์ ถึงกำแพงวิทยาลัยเทคนิคด้านติดแม่น้ำ

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนต้นมะม่วงตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนต้นมะม่วง อยู่ทางทิศใต้ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนไร่ขิง
ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                พื้นที่ชุมชนต้นมะม่วง    ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าราบ  อยู่ติดแม่น้ำเพชรบุรีจึงมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตลอดทั้งชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนต้นมะม่วง อยู่ในเขตพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนต้นมะม่วงเป็นชุมชนที่มีประชากรประกอบอาชีพหลากหลาย  ได้แก่ ข้าราชการ  พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนต้นมะม่วง
1.  การคมนาคม  ชุมชนต้นมะม่วง  มีถนนสายสำคัญ  จำนวน  2  สาย  ดังนี้
-                   ถนนราชดำริห์
-                   ถนนบริพัตร
และมีถนนซอยในพื้นที่  จำนวน  7  สาย  ดังนี้
-                   ซอยบริพัตร  5                                            
-                   ซอยราชดำริห์  1                        
-                   ซอยอุรุพงษ์   1
-                   ซอยอุรุพงษ์   2           
-                   ซอยอุรุพงษ์   3
-                   ซอยโรงใส   
-                   ซอยชาญใช้จักร
1.           ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูล จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน   (จปฐ.) ปี 2550 - 2554
               ชุมชนต้นมะม่วง               มีประชากรรวม                 1,145     คน 
             มีจำนวนครัวเรือน             276         ครัวเรือน

2.    การศึกษา ในพื้นที่ชุมชนต้นมะม่วง มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน  จำนวน 1
แห่ง คือวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี  ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น  ปวช.ถึงระดับชั้น  ปวส. มีนักเรียนจำนวนประมาณ  1,980  คน

                                4.  ศาสนา ประชาชนในชุมชนต้นมะม่วงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ไม่มีวัดตั้งอยู่
ในชุมชน  


4. ชุมชนไร่ขิง
ชุมชนไร่ขิง เดิมมีประชากรประมาณ  50 ครอบครัว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนากว้าง มีสระน้ำ ชื่อสระโคกไห เป็นสระน้ำที่เก็บไว้ทำนา และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว แพะ กลางหมู่บ้านจะมีบ่อน้ำที่ประชาชนไว้กินไว้ใช้ 1 บ่อ และมีแหล่งน้ำที่ใช้อาบ 1 บ่อ คือ สระดาวเพ็ด พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าไผ่ ป่าผลไม้หลากหลายชนิด เช่น ลูกหว้า ตะขบ มะม่วง ลูกไข่เน่า ลูกฟักข้าว ต้นชำเรียง ต้นเล็บเหยี่ยว ต้นอินผาลัม และต้นไผ่ขุย ชาวบ้านไร่ขิงจะเก็บผลไม้ต่างๆ เหล่านี้ไปขายเป็นรายได้เลี้ยงชีพ โดยมีอาชีพหลักคือ การทำนา ทำไร่ อาชีพค้าขาย เป็นอาชีพรอง และในหมู่บ้านจะมีการทำขนมพื้นเมืองประเภทเชื่อมอีกด้วย  ในหมู่บ้านมีวัดร้าง คือ วัดเสมาสามชั้น มีโรงเรียนช่างไม้ หรือโรงเรียนเทคนิคเพชรบุรีในปัจจุบัน  มีเตาเผาอิฐมอญอยู่ใกล้ๆ วัดแรกในปัจจุบัน เหลือเพียงวัดแรก เตาเผาอิฐเลิกร้างไปแล้ว วิถีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีต้นไม้ใหญ่เรียกว่า ต้นแคป่า  เป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ปัจจุบันได้สร้างศาลไว้สักการะบูชา ตรงศาลาเอนกประสงค์ (แคทอง) ในปัจจุบันนี้
                ชุมชนไร่ขิง    เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรี      จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง   (ในอดีต)  ชื่อชุมชนจันทร์ม่วงขิง  ต่อมาในปี  2539       ได้มีการแบ่งแยกชุมชนจันทร์ม่วงขิง
ออกเป็น 3 ชุมชน คือ ชุมชนจันทราวาส  ชุมชนไร่ขิง และชุมชนต้นมะม่วงตามลำดับ

สภาพทั่วไปของชุมชนไร่ขิง

อาณาเขต
ทิศเหนือ                เริ่มจากปากซอยเจตต์จำลอง (ด้านทิศใต้) จดซอยเจตน์จำลอง 3/1

ทิศใต้                      เริ่มจากซอย 5 เทคนิค (ทิศเหนือ)  จดทางรถไฟ

ทิศตะวันออก       จดทางรถไฟ

ทิศตะวันตก          เริ่มจากบ้านพักทหารตรงข้ามซอยเจตต์จำลองถึงกำแพงวิทยาลัยเทคนิคด้าน
                          ติดแม่น้ำเพชร
เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนไร่ขิงตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนไร่ขิง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าราบ  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี   เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนวัดจันทราวาสและชุมชนต้นมะม่วง  ที่ทำการชุมชนตั้งอยู่ ซอยเจตน์จำลอง 3/1 ภายในวัดแรก

ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                ชุมชนไร่ขิง  เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดแม่น้ำเพชรบุรี  ทำให้พื้นที่ในชุมชนเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำทั้งชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนไร่ขิง อยู่ในเขตพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนไร่ขิงเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย  ได้แก่  ข้าราชการ 
พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน  ฯลฯ 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนไร่ขิง
1. การคมนาคม  ชุมชนไร่ขิงมีถนนสายสำคัญ  จำนวน  3  สาย  ดังนี้
-                   ถนนบริพัตร
-                   ถนนภูมิรักษ์
-                   ถนนคลองชลประทาน
มีซอย/ตรอก ในพื้นที่  จำนวน  6   สาย   ดังนี้
                -   ซอยเจตน์จำลอง 3                         -  ซอยเจตน์จำลอง 3/3
                -   ซอยเจตน์จำลอง 3/1                     -  ซอยบริพัตร 5
                -   ซอยเจตน์จำลอง 3/2                     -  ซอยบริพัตร 5/1
                -   ซอยเสมาสามชั้น                           -  ซอยแม่เยื้อง ¾

2. ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูล ณ วันที่ 16 พฤษภาคม  2550 (จากกองสวัสดิการ
สังคมและงานทะเบียนราษฎร)
                               ชุมชนไร่ขิง          มีประชากรรวม                 1,214     คน 
                                                        มีจำนวนครัวเรือน             274         ครัวเรือน

3. การศึกษา ในพื้นที่ชุมชนไร่ขิง มีโรงเรียนสอนพิเศษ บริเวณถนนบริพัตร

                                4. ศาสนาประชาชนในชุมชนไร่ขิงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธไม่มีวัดตั้งอยู่ในชุมชน  

5. ชุมชนหน้าพระลาน

ชุมชนหน้าพระลานเป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง (ในอดีต) ที่กำหนดให้เทศบาล   ส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาลซึ่งเป็นชุมชนเมืองได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ไขปัญหาของกลุ่มในรูปแบบของชุมชนย่อย ซึ่งอาจแบ่งตามสภาพพื้นที่หรือการรวมกลุ่มตามสังคมเดิม

สภาพทั่วไปของชุมชนหน้าพระลาน

                อาณาเขต
ทิศเหนือ                เริ่มจากถนนวัดพระทรง (ด้านโรงเรียนเทศบาล 2) ถนนโพธิ์การ้อง ถึงถนนทางรถไฟ
ทิศใต้                      เริ่มจากสี่แยกวัดลาด ถนนสุรพันธ์ (ด้านโรงรับจำนำ 2) ตัดผ่านถนนโพธิ์การ้อง จดทางรถไฟ
ทิศตะวันออก       เริ่มจากปลายซอยโพธิ์การ้อง 3 ถึงทางรถไฟ
ทิศตะวันตก          จดถนนมาตยาวงศ์

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนหน้าพระลานตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนหน้าพระลาน  อยู่ทางทิศตะวันออกของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนวิหารใหญ่ - ไตรโลก  ชุมชนวัดลาด  ย่านการค้าและทางรถไฟ  เป็นชุมชนที่ยังไม่มีที่ทำการชุมชนถาวร  แต่ได้ใช้บ้านเลขที่  68  ซอยวัฒนธรรม 4 ถนนพระทรง ตำบลท่าราบ จังหวัดเพชรบุรี  เป็นที่ทำการชุมชนชั่วคราว

ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่

                                พื้นที่ชุมชนหน้าพระลานอยู่ในตำบลท่าราบ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี  มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มทั้งชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนหน้าพระลาน อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนหน้าพระลานเป็นชุมชนที่มีประชากรประกอบอาชีพหลากหลาย ได้แก่ข้าราชการ  พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน  ฯลฯ 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนหน้าพระลาน
                                1. การคมนาคม  ชุมชนหน้าพระลานมีถนนสายหลัก  จำนวน  5  สาย  ดังนี้
                        -  ถนนพระทรง เลขคู่                               
                        -  ถนนกำแพงเมือง   
                        -  ถนนโพธิ์การ้อง
                        -  ถนนมาตยาวงษ์                                      
                        -  ถนนสุรพันธ์2 และมีถนน/ซอยในพื้นที่  จำนวน  8  สาย  คือ
                        -  ซอยวัฒนธรรม 4                   
                        -  ซอยป่าไหม             
                        -  ซอยโพธิ์การ้อง 5                   
                        -  ซอยเวชบัณฑิต 3   
                        -  ซอยหลังวัดพระทรง             
                        -  ซอยพระทรง 2
                        -  ซอยสุรพันธ์ 2        
                        -  ซอยสุรพันธ์ 1        
2. ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูล จากการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน   (จปฐ.) ปี 2550 - 2554
                  ชุมชนหน้าพระลาน    มีประชากรรวม       1,880    คน 
                                                      จำนวนครัวเรือน        361    ครัวเรือน
3 .การศึกษา  ในพื้นที่ชุมชนหน้าพระลาน มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน จำนวน
2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดพระทรงและ โรงเรียนอนุบาลแสงมิตร
                                                3.1  โรงเรียนเทศบาล  2  สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล    ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ  102 คน
                                                3.2 โรงเรียนอนุบาลแสงมิตร  มีนักเรียนประมาณ  812  คน
                                4. ศาสนา ประชาชนในชุมชนหน้าพระลานส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน จำนวน 1 แห่ง คือวัดพระทรง
5. ศิลปวัฒนธรรม / ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ละครชาตรี   ละครชาตรีเป็นละครรำเก่าแก่    ได้รับวัฒนธรรมจากละครของ
อินเดียมาสู่เมืองเพชรบุรีตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน   มีเพียงประวัติว่า หม่อมเมืองซึ่งเป็นหม่อมใน
รัชกาลที่ 5 เป็นคนเพชรบุรีเป็นผู้มีความสามารถในการเล่นละครชาตรี      จึงมักเล่นถวายหน้าพระที่นั่ง
ทุกครั้งที่เสด็จมาจนได้รับพระราชทานที่ดินบริเวณ หน้าพระลานเพื่อเป็นที่แสดงละครเป็นประจำต่อมา สมัยรัชกาลที่ 6     มีผู้นำละครนอกมาประสมกับละครชาตรี    เรียกว่า   ละครเข้าเครื่อง หรือละครชาตรีเครื่องใหญ่ เป็นละครที่รวมศิลปะการร้องและการรำเข้าด้วยกันและได้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
                                - กลุ่มปั้นหัววัว  หัวสัตว์ต่างๆ  ตั้งอยู่ถนนสุรพันธ์
6. ชุมชนวัดลาด
ชุมชนวัดลาด      เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการ
ปกครอง (ในอดีต) ที่กำหนดให้เทศบาล  ส่งเสริมให้ประชาชนในเขตเทศบาลซึ่งเป็นชุมชนเมืองได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันทำ  ร่วมกันแก้ไขปัญหาของกลุ่มในรูปแบบของชุมชนย่อย ซึ่งอาจแบ่งตามสภาพพื้นที่หรือการรวมกลุ่มตามสังคมเดิม ในชุมชนวัดลาดมีการรวมกลุ่มตามสังคมเดิมในรูปแบบของชุมชนกับวัด  ซึ่งแต่เดิมชื่อชุมชนเกาะหินลาด  ต่อมาในปี 2539 ได้มีการสำรวจแนวเขตขึ้นมาใหม่จึงได้แบ่งแยกออกเป็นชุมชนวัดเกาะ  ชุมชนท่าหินและชุมชนวัดลาด

สภาพทั่วไปของชุมชนวัดลาด

                อาณาเขต
                ทิศเหนือ                เริ่มจากแม่น้ำเพชรบุรี ถนนสุรพันธ์ (ด้านวัดลาด) ถึงทางรถไฟ
ทิศใต้                      เริ่มจากสี่แยกถนนเพชรพลี ตลอดฝั่งวัดเพชรพลี ตัดผ่านถนนโพธิ์การ้องจดทางรถไฟ
ทิศตะวันออก       จดทางรถไฟ
ทิศตะวันตก          เริ่มจากสี่แยกวัดลาด ถนนมาตยาวงษ์   (ด้านวัดชีว์ประเสริฐ)ถึงสี่แยกถนนเพชรพลี

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนวัดลาดตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนวัดลาด   อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนหน้าพระลาน  ชุมชนวัดเกาะ และชุมชนท่าหิน มีที่ทำการชุมชนตั้งอยู่บริเวณภายในวัดลาด  ถนนมาตยาวงษ์ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                ชุมชนวัดลาด  เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อแม่น้ำเพชรบุรี  มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ       

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนวัดลาด อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนวัดลาดเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย  ได้แก่  ข้าราชการ 
พนักงาน  ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนวัดลาด
1. การคมนาคม  ชุมชนวัดลาดมีถนนสายสำคัญ  จำนวน  6  สาย  ดังนี้
-                   ถนนมาตยาวงษ์                  
-                   ถนนเพชรพลี     
-                   ถนนหน้าวัดลาด
-                   ถนนสุรพันธ์                       
-                   ถนนโพธิ์การ้อง 
-                   ถนนพานิชเจริญ



และมีถนน/ซอยในพื้นที่  จำนวน  5  สาย  ดังนี้
-                   ซอยสุรพันธ์ 1                     
-                   ซอยร่วมใจ           
-                   ตรอกเหลืองทอง
-                   ซอยเมตตา
-                   ซอยหมู่บ้านเพชรไพบูลย์
2. ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูล จากการสำรวจความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน
 (จากกองสวัสดิการสังคมและงานทะเบียนราษฎร์)
               ชุมชนวัดลาด       มีประชากรรวม     1,425  คน 
                                                                        มีจำนวนครัวเรือน    276  ครัวเรือน
                                3. การศึกษา  ในพื้นที่ชุมชนวัดลาด  ไม่มีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
                                4. ศาสนา ประชาชนในชุมชนวัดลาดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดตั้งอยู่ในพื้นที่   ชุมชน จำนวน 4 วัด ได้แก่ 
4.1 วัดลาด
4.2            วัดชีว์ประเสริฐ
4.3            วัดสนามพราหมณ์
4.4            วัดเพชรพลี
                                5.ศิลปวัฒนธรรม / ภูมิปัญญาท้องถิ่น                          
- ด้านสถาปัตยกรรม
พิพิธภัณฑ์วชิระปราสาทวัดเพชรพลี  เป็นอาคารไทยสองชั้นสร้างด้วย คอนกรีต และมียอดปราสาทอยู่ตรงกลาง มีลักษณะคล้ายพระปฐมเจดีย์ ซึ่งพระครูพิศิษฎ์ ศิลปาคม เป็นผู้ออกแบบการก่อสร้าง  ชั้นบนของพิพิธภัณฑ์เป็นที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูปสมัยต่างๆ จำนวนมาก อาทิ สมัยทวารวดี  ศรีวิชัย  ลพบุรี  เชียงแสน  สุโขทัย  อยุธยา  รัตนโกสินทร์     โดยเฉพาะพระพุทธรูปแบบสุวรรรภูมิ รูปแบบงดงาม
                                -ด้านการท่องเที่ยว
                                                วัดเพชรพลี ตามตำนานเล่ากันว่าวัดนี้ตั้งอยู่เมืองพริบพรีเก่า เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมาพร้อมกับตำนานเมืองเพชรบุรี บริเวณดังกล่าวสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของพราหมณ์ เพราะปรากฏหลักฐานของเทวสถาน วิหาร โบสถ์พราหมณ์  และเสาชิงช้า ตั้งอยู่มุมกำแพงวัด ตั้งอยู่บนถนนเพชรพลีใกล้กับวัดสนามพราหมณ์
7. ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก
เดิมชื่อชุมชนหน้าพระลานไตรโลก พื้นที่ในชุมชนเป็นร่องน้ำต้องใช้ดินประมาณ 70 คัน  มาถมเป็นพื้นที่กว้างเพื่อจะทำสวนสมุนไพร ต่อมาได้ปรับเป็นถนนสาธารณะส่วนหนึ่ง  ได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันคิดร่วมกันทำ  ร่วมกันแก้ไขปัญหาของกลุ่มในรูปแบบของชุมชนย่อย  ซึ่งอาจแบ่งตามสภาพพื้นที่หรือการรวมกลุ่มตามสังคมเดิม  ในชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก  มีการรวมกลุ่มตามสังคมเดิมในรูปแบบของชุมชนกับวัด  โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่กลุ่มประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนรอบๆบริเวณวัดพรหมวิหารและวัดไตรโลก และกลุ่มประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนรอบๆบริเวณวัดใหญ่   แต่ปัจจุบันประชาชนได้ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหนาแน่นทั่วพื้นที่ชุมชน เมื่อมีการจัดตั้งชุมชนจึงได้เอาชื่อของวัดที่เป็นฐานการรวมกลุ่มของชุมชนดั้งเดิมมาเป็นชื่อชุมชนว่าชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก  เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง (ในอดีต)

สภาพทั่วไปของชุมชนวิหารใหญ่ไตรโลก

                อาณาเขต
                ทิศเหนือ                เริ่มจากซอยสกุลกานต์ จนถึงศาลเจ้าแม่ทับทิม
ทิศใต้                      แนวถนนวัดพระทรงจดถนนโพธิ์การ้อง
ทิศตะวันออก       แนวทางรถไฟ
ทิศตะวันตก          แนวถนนมาตยาวงษ์ ถึงซอยร้านสกุลกานต์

เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนวิหารใหญ่ไตรโลกตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก อยู่ทางทิศตะวันออกของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  เป็นชุมชนที่อยู่สุดเขตเทศบาลด้านทิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับ  อบต.ช่องสะแก      โดยมีทางรถไฟสายใต้เป็นแนวแบ่งกั้นเขตแดน  มีที่ทำการชุมชนตั้งอยู่ บริเวณริมถนนพงษ์สุริยา ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก  เป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลท่าราบซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีเป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งชุมชน

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนวิหารใหญ่ไตรโลก อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน     ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลกเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย ได้แก่ 
ข้าราชการ  พนักงาน ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง อาชีพค้าขาย ทำขนมหวาน  ฯลฯ 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก

                                1. การคมนาคม  ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก  มีถนนสายหลัก  จำนวน  7  สาย  ดังนี้
                        -  ถนนพงษ์สุริยา                                        - ถนนมาตยาวงษ์
                        -  ถนนรอบตลาดเทศบาล                          - ถนนโพธิ์การ้อง
                        -  ถนนหน้าเรือนจำ                                    - ถนนอุทัยโพธาราม                         
                        -  ถนนพระทรง (เลขคี่)

                       
                       
                        และมีถนนซอยในพื้นที่  จำนวน 14  สาย  ดังนี้
                        - ซอยโรงฝ้าย                               - ซอยพงษ์สุริยา 1                   - ซอยพงษ์สุริยา  2       
                        - ซอยพิกุล                                    - ซอยพงษ์สุริยา 5                   - ซอยพงษ์สุริยา  3
                        - ซอยบ้านพักเรือนจำ                 - ซอยโรงฝ้าย 2                       - ซอยพงษ์สุริยา  9       
                        - ซอยกล้วยไม้                              - ซอยเปรมฤดี                          - ตรอกโรงไอศครีม
                        - ซอยรอบตลาดเทศบาล 2         - ซอยโพธิ์ทอง 4
                        2. ประชากรและครัวเรือน  จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน(จปฐ.)ปี 2550 - 2554
               ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลก                มีประชากรรวม      2,574                 คน 
                                                                                        มีจำนวนครัวเรือน     560                 ครัวเรือน
                               
3.การศึกษา ในพื้นที่ชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลกมีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน คือโรงเรียนเปรมฤดี(เอกชน)เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล1 ถึงชั้นประถมศีกษาปี่ที่ 6 มีนักเรียนประมาณ 191  คน

                                4.ศาสนา ประชาชนในชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลกส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดในพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน จำนวน 7 วัด ได้แก่ วัดพรหมวิหาร วัดใหญ่สุวรรณาราม วัดไตรโลก วัดไผ่ล้อม(ร้าง) วัดกำแพงแลง  วัดอุทัย   และวัดโพธาราม

                                5.ศิลปวัฒนธรรม / ภูมิปัญญาท้องถิ่น          
                                -วัดใหญ่สุวรรณาราม  ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมืองฯ เป็นวัดที่มีมาแต่สมัยโบราณ  ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด สันนิษฐานว่า ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ โดยพระสุวรรณมุณี ที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ในเวลาต่อมา
                                อุโบสถ  วัดใหญ่สุวรรณนาราม  เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปืนไม่มีช่องหน้าต่างผนังด้านหน้า (ทิศตะวันออก) เจาะเป็นประตูสามช่อง ประตูช่องกลางมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่สูงกว่าประตูทั้งสองข้าง ผนังด้านหลังเจาะเป็นประตูสองช่อง ช่องประตูเป็นแบบเรียบไม่มีการตกแต่ง บานประตูเป็นแผ่นไม้สักหนา ด้านนอกทาสีแดง ด้านในมีภาพเขียนรูปทวารบาลเสาอิงที่ผนังด้านหน้ามีบัวหัวเสาและลายลัดเกล้า ยกเว้นเสาอิงด้านหลังที่ไม่มีลายรัดเกล้า
                                ศาลาการเปรียญวัดใหญ่   เป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาด  10 ห้อง ยาว 15 วา กว้าง  5  วา หลังคาลดสองชั้นมีมุขทั้งสองด้าน ด้านตะวันตกทำเป็นจั่วสองชั้น ด้านล่างมีเสารองรับเรียกว่ามุขประเจิด  มีหลังคาปีกนกลาดลงมาอีกด้านละสามตับ มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยแล้วฉาบปูนทับตลอด เชิงชายคาประดับกระเบื้องดินเผามีลวดลาย
                จิตรกรรมในพระอุโบสถ เป็นจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังด้านหน้าของพระประธาน พื้นที่ระหว่างเสาพระประธาน ซึ่งเป็นเสานางแนบเขียนเป็นภาพพุทธประวัติตอนผจญมาร พื้นที่นอกเสาพระประธาน เหนือช่วงประตู ด้านซ้ายและขวาเขียนเป็นลายพรรณพฤกษาจนถึงฝ้าเพดานหลังบานประตูเขียนเป็นรูปภาพทวารบาล
หอไตร  เป็นหอไตรที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว มีสามเสาซึ่งมีลักษณะพิเศษ ฝาปะกน หลังคาทรงจั่วยอดแหลม ปัจจุบันมุงกระเบื้องเกล็ดเต่า มีสะพานทอดจากริมสระไปยังหอไตร
                หมู่กุฎิสงฆ์  ตั้งอยู่ทางด้านหลังของศาลาการเปรียญ ฝากุฏิเป็นฝาเรือนไทยสมัยโบราณ หกแบบ ได้แก่ แบบฝาปะกน ฝาสำรวจ (กรุด้วยแผ่นไม้) ฝาสายบัว ฝาลูกฟัก ฝาเพี้ยมและฝาถัง ด้านนอกเป็นฝาปะกน แต่ด้านในเรียบเหมือนไม้แผ่นเดียว  เพราะทำลิ้นสอดไว้ประณีตงดงามมาก
8. ชุมชนวัดเกาะ
อดีตชุมชนวัดเกาะมีมานานแล้ว ตั้งแต่ พ..2532 ซึ่งเทศบาลได้แบ่งเขตการปกครอง
ดูแล เป็น 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนจันทร์ ม่วง ขิง ชุมชนนามอญไชยสุรินทร์ ชุมชนหน้าพระลานไตรโลก ชุมชนพระนครคีรี และชุมชนเกาะหินลาด ซึ่งชุมชนวัดเกาะก็เป็น 1 ในชุมชนเกาะหินลาด โดยใช้ที่ทำการที่ โรงเรียนวัดจันทราวาส มีคณะกรรมการชุมชน 1 ชุด คอยบริหารดูแล พัฒนาชุมชน ซึ่งมาจากคนในพื้นที่ ทั้งคนในเขตพื้นที่วัดเกาะ เขตท่าหิน และเขตวัดลาด ที่ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการต่อมาด้วยในเขตพื้นที่วัดเกาะหินลาด มีประชากรเพิ่มมากขึ้น รายได้และเศรษฐกิจเปลี่ยนไป ชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในพื้นที่ต่างกันไป ทำให้เทศบาลเมืองเพชรบุรี คิดแยกออกเป็นชุมชนย่อย เพื่อง่ายต่อการปกครองดูแล พัฒนาเมืองอีก 6  ชุมชน และชุมชนวัดเกาะได้แยกออกมาจาก ชุมชนเกาะหินลาด เมื่อปี พ..2545 เมื่อวันที่ 5  มกราคม 2545  มีที่ทำการชุมชนเป็นของตนเอง แต่เป็นการเช่าสถานที่บ้านเช่าของวัดเกาะ  ซึ่งเดิมเป็นห้องน้ำของทางวัด โดยความอนุเคราะห์ของหลวงพ่อวัดเกาะ โดยคณะกรรมการชุมชนนำมาซ่อมแซม ปรับปรุงห้องให้เหมาะสมกับเป็นที่ทำการชุมชน  ถ้านับการ
ก่อตั้งชุมชนปกครองและพัฒนาได้ 3 ปี  ชุมชนวัดเกาะ  เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง   (ในอดีต)    ชื่อชุมชนเกาะหินลาด   ต่อมาในปี   2539   ได้มีการแบ่งแยกชุมชนเกาะหินลาด  ออกเป็น 3 ชุมชน คือ ชุมชนวัดเกาะ ชุมชนท่าหิน และชุมชนวัดลาด ตามลำดับ

สภาพทั่วไปของชุมชนวัดเกาะ

                อาณาเขต
                ทิศเหนือ                เริ่มจากแม่น้ำเพชรบุรี ถนนหน้าวัดลาด จดถนนมาตยาวงศ์
ทิศใต้                      เริ่มจากแม่น้ำเพชรบุรี  เลียบคลองวัดเกาะ ถึงสะพานวัดแรก
ทิศตะวันออก       คลองวัดเกาะแนวแม่น้ำเพชรบุรี ถึงตรอกท่าน้ำขุนวิเทศ
ทิศตะวันตก          เริ่มจากแนวถนนมาตยาวงศ์  หน้าวัดลาดจดสะพานนเรศ


เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี แบ่งเขตการปกครองเป็น2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบลคลองกระแชง โดยชุมชนวัดเกาะตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนวัดเกาะ    ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ติดต่อกับชุมชนวัดลาด และชุมชนท่าหิน มีที่ทำการชุมชนตั้งอยู่ในตลาดวัดเกาะติดกับข้างกำแพงวัด 
ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                ชุมชนวัดเกาะ  เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดแม่น้ำเพชรบุรีเกือบทั้งชุมชน  จึงมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเพชรบุรี

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนวัดเกาะ อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย

ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนวัดเกาะเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย  ได้แก่  ข้าราชการ 
พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย ทำขนมหวาน  ฯลฯ 
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนวัดเกาะ
                                1.  กาคมนาคม  ชุมชนท่าหินมีถนนสายสำคัญ  จำนวน  3  สาย  ดังนี้
                        -  ถนนมาตยาวงศ์
                        -  ถนนพานิชเจริญ
                        -  ถนนหน้าวัดลาด
                        และมีถนนซอยในพื้นที่  จำนวน  7  สาย  ดังนี้
                        -  ซอยพานิชเจริญ 1   - ซอยพานิชเจริญ 3
                        -  ซอยวัดเกาะแก้ว  2 - ซอยวัดเกาะแก้ว 4
                        -  ซอยศาลเจ้าวัดลาด  - ซอยท่าน้ำขุนวิเทศ
-  ตรอกโรงกระเบื้อง

2. ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูล ณ วันที่ 14 พฤษภาคม  2550 (จากกองสวัสดิการ
สังคมและงานทะเบียนราษฎร)
               ชุมชนวัดเกาะ      มีประชากรรวม                 1,372     คน 
              มีจำนวนครัวเรือน          297         ครัวเรือน

                3. การศึกษา  ในพื้นที่ชุมชนวัดเกาะ ไม่มีสถานศึกษาในชุมชน

                                4. ศาสนา ประชาชนในชุมชนวัดเกาะส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดในพุทธ
ศาสนาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชน  จำนวน 1 วัด คือ วัดเกาะสุทธาราม  ศาลเจ้าวัดลาด  และศาลเจ้า
บ้านปืน
                                5. ศิลปวัฒนธรรม  / ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                - ด้านสถาปัตยกรรม
                                                วัดเกาะเป็นวัดเก่ารุ่นอยุธยาตอนกลาง ดังนั้นโบราณวัตถุสถานสำคัญๆ คือพระอุโบสถ และภาพจิตรกรรมฝาผนังภายใน วิหาร เจดีย์ ส่วนศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ล้วนมาสร้างในสมัยหลังทั้งสิ้น แต่สมัยหลังของวัดเกาะ ก็เก่าขนาดรัตนโกสินทร์ รุ่นรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ประกอบด้วยโบราณวัตถุสถาน ดังนี้
                                                พระอุโบสถ มีขนาดไม่ใหญ่นัก ทรงสูง ฐานหย่อนท้องช้างหรืออ่อนโค้งดังสำเภา ตัวอาคารเป็นรุ่นอยุธยาแท้ๆ เพราะไม่มีการเจาะช่องหน้าต่าง แต่ด้านหน้าและด้านหลังเจาะ
ประตู ด้านละ 2 ช่อง เหนือประตูประดับซุ้มลายปูนปั้น ด้านหน้ามีเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง 2 ต้น และมีคันทวยแกะไม้ค้ำยันหลังคาไว้ด้วย ส่วนหน้าบันประดับลายปูนปั้นรูปเทพพนม รอบโบสถ์มีเสมาหินทราย เป็นเสมาคู่ ตั้งบนฐานสูงมีลวดลายบนตัวเสมา จากลวดลายดังกล่าว บ่งว่าเป็นเสมารุ่นเก่ากว่าสมัยอยุธยา
                                                วิหาร  ตั้งอยู่เคียงข้างพระอุโบสถ แต่มีลักษณะเรียบง่ายกว่ามาก แม้เสาด้านหน้าจะเป็นเสาย่อมุมสิบสองเช่นกัน  แต่ไม่มีคันทวยค้ำยัน และประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็ไม่มีลายปูนปั้นประดับซุ้ม หน้าบันก็มีลักษณะเรียบๆ ไม่มีลวดลาย แต่ด้านข้างเจาะหน้าต่างด้านละ 1 ช่อง
                                                ศาลาการเปรียญ  แม้จะเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเมื่อ พ..2431  ถือเป็นงานรุ่นหลังแล้วก็ตามแต่ก็มีคุณค่าทางศิลปะสูง ทั้งทรวดทรงและความประณีตในฝีมือ กล่าวกันว่าท่านผู้สร้าง คือท่านอธิการโฉม ผู้ครองวัดในสมัยนั้นและเป็นช่างฝีมือดี ถึงกับลองปลูกกุฏิ เป็นการซ้อมฝีมือก่อนลงมือจริง ภายในศาลาการเปรียญมีโบราณวัตถุที่น่าสนใจ คือ ธรรมาสน์แกะไม้ปิดทอง  ทั้งตัวกระจังและลวดลายโดยรอบ   ล้วนสร้างขึ้นอย่างประณีตบรรจง  บ่งว่าท่านผู้สร้างเป็นช่างชั้นครู      โดยผู้ออกแบบควบคุมคือ ขุนศรีวังยศ ทำเลียนแบบสมัยอยุธยาและอีกท่านหนึ่งที่มีงานแกะไม้อันงดงามอยู่ในศาลาการเปรียญหลังนี้ คือ ท่าอธิการญิด ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงพระลูกวัด บริเวณคอสองภายในโดยรอบ ยังมีภาพเขียนพุทธประวัติ ฝีมือช่างรุ่นรัชกาลที่ 5 สภาพค่อนข้างสมบูรณ์และสีสดใสกับทั้งให้เรื่องราวทางพุทธประวัติได้ดี
                                                กุฏิสามห้อง  ท่านผู้สร้าง สร้างขึ้นเพื่อซ้อมฝีมือก่อนที่จะลงมือสร้างศาลาการเปรียญหลังดังกล่าว วัดเกาะจึงมีกุฏิสามห้องทรงไทยอันสวยงามทั้งเครื่องบนฝารอบนอกและฝาเฟี้ยม เป็นที่เชิดหน้าชุตาของวัดได้อีกสิ่งหนึ่ง กุฏิหลังนี้มีจารึกติดอยู่ที่ฝาเฟี้ยมด้านใน ต่อภายหลังเมื่อทางวัดจำเป็นต้องขยายกุฏิให้กว้างขวางขึ้น ต้องรื้อจารึกออก ดังนั้นจึงขอคัดข้อความจารึกมาลงไว้ในที่นี้ด้วย โดยจะคงอักขระไว้ตามเดิมทุกประการ  กระติหลังนี้  ปลูกปีจอ  ทั้นกับพระ  อัฐศก  1348  เป็นผู้ทำ
สิกกานวิน  จีนมาก จีนคงสามคนพี่น้อง มีจิตรศัตทาออกทรัพย์ ทร่างไว้ในพระพุทธศาสนา  เป็นเงินตรา 5 ชั่ง ขอให้เป็นปัจไจ แก่พระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้นเทอญฯ
                                                พิพิธภัณฑ์ของวัด  ทางวัดได้ใช้เนื้อที่ส่วนหนึ่งของหมู่กุฏิใหญ่จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชม เมื่อวันที่  15 ตุลาคม 2515 มีโบราณวัตถุมากมายซึ่งเจ้าอาวาสองค์ก่อนๆ สะสมไว้ เช่น พระพุทธรูป เครื่องเบญจรงค์  เครื่องกังไสลายคราม และเครื่องสังเค็ดต่างๆ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงถวายในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช นอกจากนี้ยังได้เก็บรักษาสมุดข่อยไว้พอสมควร บางเล่มก็ยืมมาจากวัดลาด ซึ่งเป็นแหล่งเก็บสมุดข่อยแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของเพชรบุรี
                                                หอระฆัง  หอระฆังหลังเก่าตั้งอยู่ตรงประตูทางขึ้นด้านหลังกุฏิของวัดเกาะ เยื้องศาลาท่าน้ำมเหศวร จุดเด่นหอระฆังอยู่ที่ช่อฟ้า เป็นแบบอยุธยาโดยเฉพาะมีเพียงไม่กี่แห่งในจังหวัดเพชรบุรี ตรงส่วนปากงุ้ม คว่ำลงเรียกกันว่า ช่อฟ้าปากครุฑ  แต่ในจังหวัดเพชรบุรีมักนิยมเรียกว่า ช่อฟ้าเล็บเหยี่ยว  หรือ ช่อฟ้าหน้าคว่ำ จำง่ายดี
                                                ศาลาท่าน้ำ (ศาลามเหศวร)  สร้างขึ้นสมัยพระอธิการดิษเจ้าอาวาสวัดเกาะองค์ที่ 2 (..2400 2422)  สร้างขึ้นเพื่อถวายเจ้านายต่างกรมพระนาม กรมหมื่นมเหศวร เมื่อสร้างเสร็จจึงตั้งชื่อศาลาตามพระนามว่า ศาลามเหศวร
- ด้านจิตรกรรม
                                                ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธาราม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีการจารึกปีที่เขียนไว้ว่า ปี 2277 เป็นภาพเขียนสีฝุ่น สภาพยังสมบูรณ์ ตอนบนเขียนเป็นรูปหมู่นักสิทธิ์วิทยาธรประนมหัตถ์ถือดอกไม้ แต่งกายอย่างคนต่างชาติ ตอนกลางเขียนเป็นรูปเจดีย์บรรจุในโครงรูปสามเหลี่ยมหยักฟันปลา มีรูปฉัตรคั่น ใต้ฉัตรเขียนเป็นรูปพุทธประวัติ ส่วนผนังด้านทิศใต้เขียนเป็นภาพสถานที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า      ตอนล่างของภาพเขียนเป็นรูปชาวตะวันตกขี่ม้า พระญี่ปุ่นและคนจีน แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวต่างประเทศในสมัยอยุธยาขณะนั้น
                                -ประเพณีแข่งเรือในเทศกาลทอดกฐิน (เรือกัญญา)
                                -ข้าวเกรียบงา   (น้ำเพชร / เพชรนวรัตน์)  ขนมหวาน                             
-ช่างตอกกระดาษลายโกศ  / ช่างทำเมรุ / ช่างเกาะสลักไม้โมก
                9. ชุมชนนามอญ

ชุมชนนามอญ  เป็นชุมชนที่เทศบาลเมืองเพชรบุรีจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกรมการปกครอง (ในอดีต) ชื่อชุมชนนามอญ-ไชยสุรินทร์ ต่อมาในปี 2539 ได้มีการแบ่งแยกชุมชนนามอญ-ไชยสุรินทร์ ออกเป็น 2 ชุมชน คือ ชุมชนนามอญ  ชุมชนรถไฟ-ไชยสุรินทร์ ตามลำดับ 

สภาพทั่วไปของชุมชนนามอญ

                อาณาเขต
                ทิศเหนือ                จดโรงน้ำแข็งภาคใต้ เลียบแม่น้ำเพชรบุรี
ทิศใต้                      เริ่มจากสะพานเทศบาล ไปตามถนนมาตยาวงศ์ถึงสี่แยกห้างสหไทย 
เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหน้าห้างสหไทย   จรดศาลเจ้าแม่ทับทิม
ทิศตะวันออก       จดโรงน้ำแข็งภาคใต้ไปถึงหลักเขตที่ 4
ทิศตะวันตก          เริ่มจากบริเวณต้นโพธิ์ เลียบแม่น้ำเพชรบุรีถึงโรงน้ำแข็งภาคใต้
เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองเพชรบุรี   แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ตำบล ได้แก่ตำบลท่าราบและตำบล
คลองกระแชง โดยชุมชนนามอญตั้งอยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของตำบลท่าราบ

ลักษณะที่ตั้ง

                                ชุมชนนามอญ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี   เป็นชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนวิหารใหญ่-ไตรโลกและเขตการค้า

ลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่
                                พื้นที่ชุมชนนามอญ   เป็นชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ

ลักษณะภูมิอากาศ
                                ชุมชนนามอญ    อยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี  อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีซึ่งด้านทิศตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ทำให้มีสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัด โดยแบ่งเป็น 3 ฤดูกาล เช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย
                 
ลักษณะการประกอบอาชีพ
ชุมชนนามอญเป็นชุมชนที่มีประชากรที่ประกอบอาชีพหลากหลาย  ได้แก่  ข้าราชการ 
พนักงาน   ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว  อาชีพรับจ้าง  อาชีพค้าขาย  ทำขนมหวาน  ฯลฯ 

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนนามอญ
1. การคมนาคม  ชุมชนนามอญมีถนนสายสำคัญ  จำนวน  3  สาย  ดังนี้
-                   ถนนมาตยาวงษ์
-                   ถนนนามอญ
-                   ถนนเดโช
และถนนซอยในพื้นที่  จำนวน  1  สาย  ดังนี้
-                   ซอยนามอญ
2. ประชากรและครัวเรือน  ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม  2550 (จากกองสวัสดิการ
สังคมและงานทะเบียนราษฎร)
    ชุมชนนามอญ               มีประชากรรวม       434   คน 
                                                             มีจำนวนครัวเรือน     93   ครัวเรือน  
                                3.  การศึกษา ในพื้นที่ชุมชนนามอญ ไม่มีสถานศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน                        
4. ศาสนา ประชาชนในชุมชนนามอญส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ไม่มีวัดตั้งอยู่ในชุมชน
5. ศิลปวัฒนธรรม  / ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- มีการยกศาลพระภูมิ  โดยอาจารย์สมจิต  แย้มโอษฐ์
-มีการทำศิราภรณ์เครื่องประดับ  โดย นายณรงค์ชัย  มากบำรุง
-งานปูนปั้น งานจิตรกรรม               โดย นายเฉลิม  พึ่งแตง
- งานลงรักปิดทองประดับกระจก   โดย นายวิเชียร  เถาพันธ์
-งานลายรดน้ำ                                     โดยนาธานินทร์  ชื่นใจ
- งานทำทองรูปพรรณ                       โดยนางเนื่อง  แฝงสีคำ
-งานปั้นหัวสัตว์                                   โดยนายอรุณ  ชื่นอารมณ์